วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สมาคมวิชาชีพสาธารณสุขศรีสะเกษ ประชุมเครือข่ายผลักดัน พรบ.วิชาชีพสาธารณสุข


วันที่ 17 ธันวาคม  2554 ที่โรงแรมพรหมพิมาน ศรีสะเกษ สมาคมวิชาชีพสาธารณสุขศรีสะเกษ ประชุมเครือข่ายผลักดัน พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุข ทำ Rodmap พรบ.วิชาชีพสาธารณสุข เราจะเดินหน้าในทิศทางใด เพื่อลูกหลาน หมออนามัย......ยุคต่อไป ได้รับเกียรติจาก นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ นายแพทย์ประวิ  อ่ำพันธุ์ เป็นประธานเปิดการประชุมเครือข่าย ฯ และมีท่านปิ่น นันทะเสน นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุขศรีสะเกษ กล่าวรายงาน

ได้รับความสนใจจากหมออนามัย นักวิชาการสาธารณสุข เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข จาก รพ.สต.  สสอ. รพช. สสจ. จากจังหวัดศรีสะเกษ อุบลราชธานี สุรินทร์จำนวนมากพอสมควร......วิทยากร...กำลังใจจาก...สมาคมวิชาชีพสาธารณสุขส่วนกลาง ท่านไพศาล บางชวด และทีมงาน....ชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย..และ.ดร.สุรชาติ ณหนองคาย ที่ปรึกษา พร้อม สส.ปวีณ แซ่จึง




ทุกย่างก้าว มีความหมาย เส้นทางนี้ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ 98 ปีที่ผ่านมา หมออนามัยยังไม่มีที่ยืน ลายเส้น ในสายวิชาชีพ จาก สุขศาลา...สำนักงานผดุงครรภ์.....สถานีอนามัย...สู่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล............
พวกเราจะทำให้สำเร็จ....เพื่อคุณภาพมาตรฐานบริการประชาชน..ระดับรากหญ้า...จะได้รับบริการที่เท่าเทียมกัน....เพื่อคุณภาพชีวิต สุขภาพดีของพี่น้องชาวไทย

ที่มา : หมออนามัยอวุโสเมืองจันทร์

วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ขอเชิญร่วมตอบแบบสอบถามความคิดเห็นฯ

ขอเชิญร่วมตอบแบบสอบถาม
เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาเสนอขอให้มี พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุข
คลิกที่นี่ สำหรับนายแพทย์สสจ.และหัวหน้า
CUP


------------------------------------------------------------------------------------------

การประชุมเครือข่ายสมาคมวิชาชีพสาธารณสุขศรีสะเกษ 
ครั้งที่ 1 ประจำปี ๒๕๕๔  ณ โรงแรมพรมพิมาน
อำเภอเมืองจังหวัดศรีสะเกษ
วันที่ ๑๖ - ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๔

คลิกที่นี่ตรวจสอบรายชื่อ
 
------------------------------------------------------------------------------------------

เชิญสมัครสมาชิก พรบ.วิชาชีการสาธารณสุขตลอดชีพ เอกสารประกอบดังนี้
1. กรอกใบสมัคร (คลิ๊กที่นี่เพื่อดาวน์โหลด)
2. รูปถ่าย จำนวน 3 ใบ (รวมที่ติดใบสมัคร อีก 2 รูป ทำบัตรสมาชิก)
3. เอกสารแนบอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ หลายอย่าง
4. นำใบสมัครมาส่งพร้อมเงินค่าสมัครที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ

วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2554

กรอกแบบแสดงความจำนงเข้าประชุมและจองห้องพัก การประชุมเครือข่ายสมาคมวิชาชีพสาธารณสุขศรีสะเกษ

การประชุมเครือข่ายสมาคมวิชาชีพสาธารณสุขศรีสะเกษ 
ครั้งที่ 1 ประจำปี ๒๕๕๔  ณ โรงแรมพรมพิมาน อำเภอเมืองจังหวัดศรีสะเกษ
วันที่ ๑๖ - ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๔

คลิกที่นี่ตรวจสอบรายชื่อ
 
------------------------------------------------------------------------------------------

เชิญสมัครสมาชิก พรบ.วิชาชีการสาธารณสุขตลอดชีพ เอกสารประกอบดังนี้
1. กรอกใบสมัคร (คลิ๊กที่นี่เพื่อดาวน์โหลด)
2. รูปถ่าย จำนวน 3 ใบ (รวมที่ติดใบสมัคร อีก 2 รูป ทำบัตรสมาชิก)
3. เอกสารแนบอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ หลายอย่าง
4. นำใบสมัครมาส่งพร้อมเงินค่าสมัครที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ

ขอเชิญร่วมตอบแบบสอบถาม

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เชิญสมัครสมาชิก พรบ.วิชาชีการสาธารณสุขตลอดชีพ

เชิญสมัครสมาชิก พรบ.วิชาชีการสาธารณสุขตลอดชีพ เอกสารประกอบดังนี้
1. กรอกใบสมัคร (คลิ๊กที่นี่เพื่อดาวน์โหลด)
2. รูปถ่าย จำนวน 3 ใบ (รวมที่ติดใบสมัคร อีก 2 รูป ทำบัตรสมาชิก)
3. เอกสารแนบอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ หลายอย่าง
4. นำใบสมัครมาส่งพร้อมเงินค่าสมัครที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ

*****************************************

ดาวโหลด-อัพโหลดไฟล์

กฏหมาย/พ.ร.บ./คำสั่งประกาศ

พ.ร.บ.วิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. 2556


เอกสารสมาคม

# ใบสมัครสมาชิก พรบ.วิชาชีพสาธารณสุข.doc
# โลโก้สมาคมวิชาชีพการสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ.doc

วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ให้สมัครสมาชิกสมาคมวิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ.....



รียน พี่น้องชาวสาธารณสุข ผู้มีจิตสาธารณะ ทุกท่าน
ผมกำลังมองว่า ช่วงนี้เป็นช่วงที่เหมาะสมมากที่พวกเราต้องเตรียมกระสุน(พลัง)เช่นงบประมาณเพื่อกองทัพต้องเดินด้วยท้อง สมัครเป็นสมาชิกสมาคมวิชาชีพฯแบบถาวร(ตลอดชีพ) เพราะทางสมาคมฯ จะนำท่านเข้าเป็นสมาชิกของสภาวิชาชีพไปพร้อมเลยซึ่งจะมีสิทธิประโยชน์ มากมายเมื่อเราได้มีวิชาชีพซึงก็จะเป็นไปตาม พ.ร.บ. การรับสมัครก็ให้สมัครได้ที่สมาคมวิชาชีพการสาธารณสุขโดยตรงหรือที่ผู้ประสานงานในแต่ละจังหวัด ก็ได้นะครับหรือที่สสอ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษก็ไม่ขัดข้อง
ขอบคุณทุกท่านที่ติดตาม


ตัวอย่างหนังสือถึงนักการเมืองในพื้นที่ฯที่จะช่วยผลักดัน พ.ร.บ.วิชาชีพฯ ช่วยพวกเรา



พี่น้องครับ วันนี้เป็นงดสูบบุหรี่โลกนะครับ...ท่านงดสูบบุหรี่มั๊ย
(31 พฤษภาคม วันงดสูบบุหรี่โลก)


เกาะติดสถานการณ์...ก้าวทันความเคลื่อนไหว ร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. ....

เรื่องเล่าที่คลาสสิก....ก่อนเข้าสู่ ค.ร.ม. และกฤษฎีกา 
5  สิงหาคม 2552 
   
           ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ 28 ท่าน นำโดยท่านนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม) มอบให้ ส.ส.นิภา  พริ้งศุลกะ เป็นผู้เสนอร่าง พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. ....  ต่อประธานรัฐสภา (ขณะนี้รออยู่ในสภาผู้แทนราษฎร)
           
19 สิงหาคม 2552
เป็น วันประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่พวกเราควรจดจำ สมาคมวิชาชีพสาธารณสุข และสมาชิก รวมทั้งพี่น้องสาธารณสุข ประมาณ 10,000 คน รวมพลครั้งใหญ่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เป็นการรวมสมาชิกจากทั้ง 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ เป็นครั้งที่ 5 เมื่อเสร็จสิ้นเวทีการประชุม 4 ภาค “95 ปี สถานีอนามัยทศวรรษใหม่แห่งการเปลี่ยนแปลง” เสนอร่าง พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. ... มอบให้นายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ณ บริเวณหน้าอาคารรัฐสภา โดยมี สส.ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน เดินทางลงมารับมอบ ร่าง พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. .... ซึ่ง นายไพศาล บางชวด นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข เป็นตัวแทนพี่น้องชาวสาธารณสุข และหมออนามัยส่งมอบเสนอร่าง พรบ.ดังกล่าว

12 มกราคม 2553 
   
กระทรวง สาธารณสุข โดยมีปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายไพจิตร์ วราชิต และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวง ได้ทำหนังสือเชิญกรรมการบริหารสมาคมวิชาชีพสาธารณสุขเพื่อร่วมประชุมหารือ ร่วมกับผู้แทนองค์กรวิชาชีพทั้ง 6 สภา วิชาชีพ ที่แสดงเจตนาไม่เห็นด้วยกับการเสนอขอให้มี พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุข พร้อมทั้งกระทรวงสาธารณสุขได้ทำหนังสือเพื่อยื่นต่อสภาผู้แทนราษฎร และเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยกล่าวอ้างถึงกฎหมายที่ตกไปในสมัย สนช. และในครั้งนี้จะสนับสนุนการมี พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุขขึ้นไปใหม่ 

บทสรุปที่ประชุม นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข นายไพศาล บางชวด ชี้ให้กระทรวงสาธารณสุขเห็นว่า
สิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขรายงานต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นข้อมูลอันเป็นเท็จ ขอให้ดำเนินการแก้ไขและตอบข้อหารือไปยังเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และประธานรัฐสภา โดยด่วน! และจะนัดกันรวมตัวเพื่อทวงถามหนังสือดังกล่าวอีกครั้งในวันที่ 18 มกราคม 2553 

18 มกราคม 2553 

เป็น วันประวัติศาสตร์ของการต่อสู้ผลักดันกฎหมายวิชาชีพสาธารณสุขที่สำคัญอีก ครั้ง สมาคมวิชาชีพสาธารณสุข พร้อมด้วยสมาชิกพี่น้องชาวสาธารณสุข และองค์กรเครือข่ายสาธารณสุขต่างๆ ประกอบด้วย ผู้แทนชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย สมาคมหมออนามัย และชมรมสถานีอนามัยแห่งประเทศไทย รวมประมาณ 2,850 ชีวิต เดินทางมาทวงถามและติดตามหนังสือตอบข้อหารือของนายกรัฐมนตรี กับประธานรัฐสภา

เวลา 10.30 น. นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข นายไพศาล บางชวด ประกาศแถลงการณ์ยืนยันให้กระทรวงสาธารณสุขแสดงท่าทีและสนับสนุนการเสนอขอให้ มีกฎหมายวิชาชีพการสาธารณสุข พร้อมทั้งเสนอให้มีการโยกย้ายรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายเสรี หงส์หยก เพราะขาดความจริงใจและจงใจรายงานข้อมูลอันเป็นเท็จต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร บ่งบอกเจตนาที่ไม่ต้องการสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีกฎหมายคุ้มครอง ความเป็นวิชาชีพ จากเหตุการณ์ครั้งนี้ บวกกับการให้ข้อมูลกับสื่อมวลชนถึงความจำเป็นและความสำคัญของการเสนอขอให้มี กฎหมาย 2 ฉบับ คือ พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุข และ
 พรบ.การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแห่งชาติ (สื่อมวลชนตีพิมพ์เผยแพร่ข่าวเหตุการณ์นี้เกือบทุกฉบับ)

20 มกราคม 2553

พบ กับวันประวัติศาสตร์ที่ควรจดจำไว้อีกเช่นกันในการผลักดันและขับเคลื่อนให้มี พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุข อย่างต่อเนื่อง ชนิดที่เรียกกันว่า “กัดไม่ปล่อย” เหตุการณ์ทั้งหมดจึงเป็นที่มาให้ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (คนปัจจุบัน) ประกาศนโยบายและทิศทางการดำเนินงานใน 10 เรื่องที่สำคัญ โดยเฉพาะข้อที่ 10 ที่กำหนดไว้ในนโยบาย คือ “ผลักดันและพัฒนากฎหมายให้เอื้อประโยชน์ต่อการสนับสนุนการดำเนินงาน โดยเฉพาะกฎหมายใหม่ เช่น พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุข (มันควรเรียกว่าเป็นประวัติศาสตร์การก่อตั้งกระทรวงสาธารณสุขที่ไม่เคยมี เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นมาก่อน นับตั้งแต่อดีตที่มีสถานีอนามัยมาเกือบ 100 ปี อะไรก็เกิดขึ้นได้เสมอในยุคนี้ ประการที่สำคัญก็คืออย่าประมาทก็แล้วกัน อะไรที่คิดว่ามันไม่พลาด มันก็มีโอกาสพลาดกันได้เสมอ) พรบ.คุ้มครองความเสียหายจากการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยให้ความสำคัญทั้งผู้ให้บริการ และผู้รับบบริการ”

...เหตุการณ์ต่อเนื่อง


2 กุมภาพันธ์ 2553

สมาคมวิชาชีพสาธารณสุข โดยการนำของนายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข นายไพศาล    บาง ชวด พร้อมด้วยทีมกรรมการบริหารของสมาคมฯ อาทิ นางทัศนีย์ บัวคำ อุปนายกสมาคมฯ นายสมบัติ ชูเถื่อน เลขาธิการสมาคมฯ นายอเนก ทิมทับ รองเลขาธิการสมาคมฯ และที่ปรึกษา ซึ่งมี รศ.ดร.สุรชาติ ณ หนองคาย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ นพ.พูนชัย จิตอนันตวิทยา รวมถึงสมาชิกสมาคมฯ และผู้แทนชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย และสมาคมหมออนามัย  นอก จากนี้ยังมีผู้บริหารของสถาบันการศึกษา อาทิ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นต้น ได้เดินทางไปชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา เพื่อให้ทราบถึงเจตนารมณ์ หลักการ และเหตุผลการเสนอขอให้มีพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขในครั้งนี้

3 กุมภาพันธ์ 2553

ปลัด กระทรวงสาธารณสุข นพ.ไพจิตร์ วราชิต ยอมทำตามเงื่อนไขที่สมาคมวิชาชีพสาธารณสุขเรียกร้อง โดยให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. .... คำสั่งเลขที่ 237/2553 ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2553 โดยมี นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา ปัจจุบันเป็นหัวหน้าสำนักตรวจราชการกระทรวง ทำหน้าที่เป็นประธานกรรมการ ผู้อำนวยการกลุ่มกฎหมาย เป็นกรรมการและเลขานุการ และมีองค์ประกอบของคณะกรรมการที่มาจากทุกองค์กรวิชาชีพ (รวม 6 สภาวิชาชีพ) องค์กรเครือข่ายสาธารณสุข อาทิ สมาคมวิชาชีพสาธารณสุข ผู้แทนสถาบันการศึกษา ชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย เป็นต้น พร้อมทั้งให้มีการทำหนังสือตอบข้อหารือและสนับสนุนการมี พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุขไปยังเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และประธานรัฐสภา

25 กุมภาพันธ์ 2553

(ช่วงเช้า) พี่น้องชาวสาธารณสุข และ อสม. ได้พร้อมใจกันเข้าชื่อเสนอร่าง พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. .... ในนามภาคประชาชน ประมาณ 20,000 รายชื่อ โดยมีองค์กรแกนนำหลักครั้งนี้คือ สมาคมวิชาชีพสาธารณสุข ที่มีนายไพศาล บางชวด นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข พร้อมด้วยกรรมการบริหารและสมาชิก รวมทั้งผู้แทนสาธารณสุขอำเภอ และหมออนามัย  ร่วมกับตัวแทน อสม. ได้ส่งมอบบัญชีรายชื่อดังกลล่าวให้กับ ฯพณฯ นายชัย  ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ณ บริเวณห้องโถง อาคารรัฐสภา มีการตรวจสอบรายชื่อพร้อมบัญชีดังกล่าวครบถ้วนแล้ว ขณะนี้ร่าง พรบ.อยู่ในสภาผู้แทนราษฎรแล้ว

(ช่วงบ่าย) นายก สมาคมวิชาชีพสาธารณสุข นายไพศาล บางชวด พร้อมด้วยที่ปรึกษาสมาคมฯ รศ.ดร.สุรชาติ ณ หนองคาย, นายแพทย์พูนชัย จิตอนันตวิทยา และกรรมการบริหารสมาคมฯ เข้าชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นของการเสนอขอให้มีพรบ.วิชาชีพการสาธารณสุขใน ครั้งนี้ต่อคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร (มี ส.ส.ทั้งฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายค้าน) คณะกรรมาธิการฯ ดังกล่าวต่างเห็นด้วยในการเสนอขอให้มีพรบ.วิชาชีพการสาธารณสุข แต่ก็มีข้อสังเกตหลายประการ

17 พฤษภาคม ต่อเนื่องถึง 22 มิถุนายน 2553

กระทรวงสาธารณสุข โดยการลงนามในหนังสือถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2553 เพื่อแสดงเจตนารมณ์ หลักการและเหตุผลความจำเป็นในการเสนอขอให้มีพรบ.วิชาชีพการสาธารณสุข (ร่างฉบับกระทรวงสาธารณสุข) และนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาให้ความเห็นเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2553 ที่ประชุมซึ่งมีนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการ ที่นำเสนอโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นาย   จุ รินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ และมีผู้แทนของกระทรวงสาธารณสุขคือ นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา ผู้ตรวจราชการกระทรวง ผู้อำนวยการกลุ่มกฎหมาย และคุณทัศนีย์ บัวคำ อุปนายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข ร่วมให้ข้อมูลเพิ่มเติมในการชี้แจงต่อ ครม. แต่ยังมีหลายหน่วยงานที่ตั้งข้อสังเกตไว้ และมีบางหน่วยงานที่ไม่เห็นด้วยกับการมีพรบ.วิชาชีพการสาธารณสุข อาทิ สำนักงาน ก.พ. เป็นต้น จากนั้นจึงส่งร่าง พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. .... ไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อตรวจสอบและให้ความเห็นส่งกลับมายัง ครม. อีกครั้งเพื่อพิจารณาอนุมัติในหลักการ แล้วส่งไปยังประธานวิปรัฐบาล (ปัจจุบันนายวิทยา แก้วภราดัย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข) เพื่อนำเข้าสู่สมัยประชุมของสภาผู้แทนราษฎรต่อไป

15 และ 22 กันยายน 2553  

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ตามหนังสือที่  สผ ๐๐๑๔/๙๙๑๑ ลงวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๓ แจ้งผลการพิจารณาของประธานสภาผู้แทนราษฎร นายชัย ชิดชอบ ตามที่ นายไพศาล บางชวด นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข และประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ร่วมกันเข้าชื่อเสนอร่าง พร บ.วิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. ..... เพื่อให้รัฐสภาพิจารณา ซึ่งประธานสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาว่าการกำหนดให้สภาวิชาชีพการสาธารณสุข อาจมีรายได้จากเงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน มีผลทำให้รัฐต้องจัดสรรงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดินมาดำเนินการ จึงเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๔๓ (๒) จึงได้สอบถามมายัง นายไพศาล บางชวด ว่าคัดค้านความเห็นของประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่ หากไม่คัดค้าน หรือไม่มีกรณีเป็นที่สงสัย ประธานสภาผู้แทนราษฎรจะได้ส่งร่าง พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. .... (ฉบับร่างของประชาชน) ไปยังนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพื่อพิจารณาให้คำรับรองต่อไป ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๑๑๑

สมาคมวิชาชีพสาธารณสุข  ตาม หนังสือที่ สวส 29/2553 ลงวันที่ 22 กันยายน 2553 แจ้งไปยังเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ไม่คัดค้าน และไม่มีกรณีเป็นที่สงสัยต่อความเห็นของประธานสภาผู้แทนราษฎร นายชัย ชิดชอบ ในครั้งนี้

22 พฤศจิกายน 2553 จนถึงปัจจุบัน

ร่าง พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. ..... (ฉบับร่างของรัฐบาล) ได้รับการพิจารณานำเข้าสู่วาระแรกของคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 10 (การแพทย์และการสาธารณสุข) วาระแรก เริ่มต้นเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2553 จนถึงวันที่ 9 ธันวาคม 2553 (วันจันทร์ และวันพฤหัสบดีของทุกสัปดาห์) ซึ่งมี

1.      นายสวัสดิ์ โชติพานิช                ประธานกรรมการ (อดีตประธานศาลฎีกา)
2.      นายวิฑูรย์  ตั้งตรงจิตต์             กรรมการ
3.      ศ.นพ.วิฑูรย์  อึ้งประพันธ์                     กรรมการ (อดีตกรรมการแพทยสภา)
4.      นายสุประดิษฐ์  หุตะสิงห์           กรรมการ
5.      นายสมชาย  พงษธา                 กรรมการ
6.      นางจริยา  เจียมวิจิตร                กรรมการ (รองเลขาธิการ สน.คกก.กฤษฎีกา)
7.      พลเอกพิชิต  ยูวะนิยม               กรรมการ
8.      ศ.ดร.สมคิด  เลิศไพฑูรย์           กรรมการ (อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
9.      ศ.ดร.ปิยะสกล  สกลสัตยาทร      กรรมการ (อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล)

สำหรับผู้แทนกระทรวงสาธารณสุขที่เข้าร่วมในการชี้แจงครั้งนี้ตามคำสั่งของกระทรวงฯ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2553 ซึ่งมี นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน, ผู้อำนวยการกลุ่มกฎหมาย และทีมเป็นเลขานุการ, รศ.ดร.สุรชาติ   ณ หนองคาย มหาวิทยาลัยมหิดล ในนามที่ปรึกษาสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข, นายไพศาล บางชวด นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข และนางทัศนีย์ บัวคำ อุปนายกสมาคมฯ นอกจากนี้ได้ขอให้มีผู้ชี้แจงเพิ่มเติมจากคำสั่ง คือ นายสมบัติ ชูเถื่อน เลขาธิการสมาคมฯ, นายประสพ สารสมัคร ตัวแทนจากชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย และมีผู้แทนจากสาธารณสุขอำเภอ และสถานีอนามัย เข้าร่วมรับฟังและร่วมสังเกตการณ์ด้วย

ขณะนี้คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 10) ดังกล่าว ได้พิจารณาเนื้อหาและสาระของร่าง พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. .... ที่ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุม ครม. ในวาระที่ 1 ครบ ทุกมาตรา และมีการตั้งข้อสังเกตและยังไม่พิจารณาให้ค้างไว้ในหลายมาตราเช่นกัน ซึ่งต้องมีการปรับปรุงร่าง พรบ.ฉบับนี้ใหม่ในหลายมาตรา จากทั้งหมด 55 มาตรา

บรรยากาศ การตอบข้อซักถามของกรรมการและการชี้แจงนั้นเป็นไปด้วยความราบรื่น จะมีหน่วยงานอื่นๆ ที่มีการตั้งข้อสังเกตเป็นบางประเด็น แต่กลุ่ม 6 สภาวิชาชีพของกระทรวงสาธารณสุขยังคงคัดค้านและให้ความเห็นที่เป็นเหตุผลเดิม และมักอ้างว่า พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุขไม่ได้กระทำต่อบุคคลโดยตรง จึงไม่ควรต้องเป็นวิชาชีพและมักอ้างว่าก้าวล้ำไปในขอบเขตของ 6 สภาวิชาชีพเดิม ถ้าหากมีการกระทำกับร่างกายมนุษย์ รวมทั้งเกรงว่าพรบ.วิชาชีพการสาธารณสุขจะไปกีดขวาง หรือห้ามคนอื่นไม่ให้ประกอบอาชีพ หรือทำงานด้านส่งเสริมสุขภาพได้ ผู้แทนสภาวิชาชีพที่แสดงท่าทีไม่เห็นด้วยอย่างมาก ซึ่งมีผู้แทนจากสภาทันตแพทย์ ผู้แทนสภาเทคนิคการแพทย์ และผู้แทนสภาการพยาบาล ส่วนผู้แทนจากแพทยสภายังไม่เคยเข้าร่วมประชุมชี้แจงด้วย
วันที่ 9 ธันวาคม 2553 เป็นการประชุมชี้แจงวันสุดท้ายของวาระที่ 1 เมื่อสิ้นสุดการพิจารณาประธานคณะกรรมการกฤษฎีกา (ท่านสวัสดิ์ โชติพาณิชย์) มอบให้ทีมเลขานุการของคณะกรรมการฯ ไปร่วมพิจารณาทบทวนเนื้อหาและสาระของร่าง พรบ.ใหม่อีกครั้งกับผู้แทนของกระทรวงสาธารณสุข และทีมสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข แล้วนำสาระและข้อมูลที่ผ่านการทบทวน ปรับปรุงร่าง พรบ.มานำเสนอในวาระที่ 2 ภายในเดือนมกราคม 2554 คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 10) จะเริ่มให้มีการพิจารณาในวาระที่ 2 และอาจต่อเนื่องถึงวาระที่ 3

วันที่ 16 ธันวาคม 2553 เป็นการประชุมหารือร่วมกันของทีมกรรมการบริหาร และสมาชิกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข ณ ห้องประชุมกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยได้รับเกียรติจาก    ที่ปรึกษา รศ.ดร.สุรชาติ ณ หนองคาย มาทำความเข้าใจและร่วมกันหาทางออกสำหรับการปรับปรุงร่าง พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุข (ฉบับรัฐบาลเป็นเจ้าของ) ที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 10 ด้านการแพทย์และการสาธารณสุข) ไปเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2553 จนได้ข้อสรุปที่จะต้องแก้ไขและปรับปรุงร่าง พรบ.ฯ  โดย เฉพาะมาตรา 3 คำนิยามของการประกอบวิชาชีพการสาธารณสุข ซึ่งเราจะยึดตามข้อเท็จจริงที่บุคลากรสาธารณสุข หรือหมออนามัยปฏิบัติงานให้บริการประชาชนโดยใช้ศาสตร์และศิลปะของตนเองมา อย่างยาวนานเกือบ 100 ปี โดยไม่มีการควบคุมการประกอบวิชาชีพกับบุคลากรสาธารณสุขเหล่านี้ที่ชัดเจนใน ทางพฤตินัย
วันที่ 18 – 19 ธันวาคม 2553 ณ ห้องประชุมเขตอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทีมเลขานุการของคณะกรรมการกฤษฎีกา และทีมกรรมการบริหาร พร้อมด้วยสมาชิกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข ประมาณ 20 คน ได้ประชุมเพื่อหารือและพิจารณาถึงเนื้อหาสาระของร่าง พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุข ที่ถูกตั้งข้อสังเกตจากคณะกรรมการฯ ในหลายมาตรา แต่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนขึ้น
วันที่ 5 และ 12 มกราคม 2554 ผู้ทรงคุณวุฒิ และทีมเลขานุการคณะกรรมการกฤษฎีกา พร้อมด้วยผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข นำโดย นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา กลุ่มกฎหมาย และทีมกรรมการบริหารสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข นำโดย นายไพศาล บางชวด นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข  ประชุม เพื่อหาข้อยุติ สำหรับเนื้อหาสาระของร่าง พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุข ที่มีการพิจารณาและปรับปรุงใหม่เป็นการให้นิยามที่ปฏิบัติหน้าที่ให้บริการ ประชาชนตามความเป็นจริง โดยอ้างอิงจากระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ปี 2539 ที่ให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขปฏิบัติงานด้านอายุรกรรม ด้านเภสัชกรรม เป็นต้น และรวมไปถึงการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม ในระดับปฐมภูมิ 
วันที่ 20 และ 24 มกราคม 2554 เป็นการประชุมในวาระ 2 ของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 10) โดยมีผู้ชี้แจงของกระทรวงสาธารณสุข และทีมคณะกรรมการบริหารและสมาชิกของสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2554 เป็นการอภิปรายถึงคำนิยามของวิชาชีพการสาธารณสุข ซึ่งยังไม่ได้ข้อยุติ แต่ภาพโดยรวมของการประชุมเป็นบรรยากาศของความเข้าใจและกรรมการทุกท่านมี เจตนาที่ดีต่อการเสนอขอให้มี พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุข ในครั้งนี้ คาดว่าจะนำเข้าบรรจุวาระการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ที่จะเปิดสมัยประชุมในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมกราคม 2554 นี้ เมื่อมีข้อสรุปที่ชัดเจนจะนำมาประชาสัมพันธ์ให้ทราบต่อไป
ในช่วงสัปดาห์ที่ 24 – 26 มกราคม 2554 ประธาน สภาผู้แทนราษฎร (นายชัย ชิดชอบ) ได้นำร่าง พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. .... ฉบับภาคประชาชน ที่มีนายไพศาล บางชวด นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข เป็นแกนนำหลักในการนำรายชื่อผู้มิสิทธิ์เลือกตั้ง รวมกว่า 15,000 รายชื่อที่มีพี่น้องชาวสาธารณสุข และ อสม.ร่วมกันเข้าชื่อเสนอให้มีกฎหมายนี้ และยังมีร่าง พรบ.ฯ ฉบับที่ ส.ส.รับเป็นเจ้าของร่างอีก 3 ฉบับ คือ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ส.ส.พรรคภูมิใจไทย และ ส.ส.พรรคเพื่อไทย รวมเป็น 4 ฉบับ บรรจุเข้าวาระการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรไปแล้ว โดย นายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้พิจารณาและรับรองร่าง พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. .... ทั้ง 4 ฉบับแล้ว เนื่องจากเป็น พรบ.เกี่ยวด้วยการเงิน นายกรัฐมนตรีต้องให้การรับรองก่อน จึงจะนำเข้าสู่วาระการพิจารณาของ สภาผู้แทนราษฎรต่อไปได้  

สรุป ร่าง พรบ.วิชาชีพสาธารณสุข พ.ศ. .... จะผ่านช่องทางเสนอให้มีกฎหมายทั้งหมด 3 ช่องทาง คือ1.ร่างที่เสนอโดยนักการเมือง โดย ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และ ส.ส.พรรคเพื่อไทย, 2. ร่างที่เสนอในนามภาคประชาชน โดยมีองค์กรแกนนำ คือสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข เป็นแกนนำหลักในการล่ารายชื่อสนับสนุนกว่า 10.000 รายชื่อ และ 3. ร่างรัฐบาลที่กระทรวงสาธารณสุขนำเสนอ ลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ผ่าน ครม.เห็นชอบและรับหลักการร่าง พรบ.ฉบับนี้ไปเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2553

วันที่ 17 มีนาคม 2554 เป็นวันสิ้นสุดการพิจารณากลั่นกรอง และปรับปรุงร่าง พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. .... ฉบับร่างของรัฐบาลของคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 10 ซึ่ง ครม.ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบไปเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2553 และส่งไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2553 เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบเนื้อหาของร่าง พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. .... ว่ามีความถูกต้อง ซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่นหรือไม่ และต้องปรับปรุงสาระของ ร่าง พรบ.หรือไม่ อย่างไร เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2553 เป็นวันที่เริ่มต้นพิจารณาเนื้อหาสาระของร่าง พรบ.โดยคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 10 ด้านการแพทย์และการสาธารสุข ประชุมทุกวันจันทร์ และวันพฤหัสบดี นอกจากผู้แทนของกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนสมาคมวิชาชีพสาธารณสุขแล้ว ยังมีองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้แทนสภาวิชาชีพทั้ง 6 สภา มาให้ความเห็นเพิ่มเติมด้วย

สภาวิชาชีพทั้ง 6 สภา ที่ยังคงยืนยันและยื่นหนังสือทักท้วงแสดงท่าทีไม่เห็นด้วยกับ การมี พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุข โดยกล่าวอ้างว่า “วิชาชีพการสาธารณสุขไม่มีความเป็นวิชาชีพแต่อย่างใด ......” คงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ 6 สภาวิชาชีพไม่เห็นด้วย เพราะมีคนได้ คนเสีย เราอย่าไปวิตกกังวล และท้อแท้หมดกำลังใจ สิ่งที่เราต้องทำก็คือ สร้างความเป็นเอกภาพในกลุ่มสาธารณสุขกันไว้  เพื่อเดินหน้า..ผลักดัน..ร่าง พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุขให้สำเร็จ เนื่องจากสถานการณ์และกระแสของสังคมเป็นคำตอบว่า “ถึงเวลาแล้วที่รัฐจะต้องให้ความสำคัญและเร่งให้มีการออกกฎหมายวิชาชีพการ สาธารณสุข ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มาตรา 80 (2) รัฐต้องทำเรื่องการพัฒนามาตรฐานของคนทำงาน และต้องทำเรื่องมาตรฐานของงานส่งเสริมป้องกันโรคด้วยเช่นกัน” ซึ่งจะเห็นได้จากหน่วยงานราชการอื่นๆ ต่างให้ความเห็นว่า “เห็นด้วยในหลักการและสนับสนุนให้มี ร่าง พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุข” ครั้งนี้ มีหลายหน่วยงาน อาทิ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง มหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวง ศึกษาธิการ สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานอัยการ สำนักงานศาลยุติธรรม แต่ก็ยังมีบางหน่วยงานที่ให้ข้อสังเกตไว้ เช่น สำนักงบประมาณมีข้อวิตกหากมีกฎหมายฉบับนี้ เนื่องจากรัฐต้องสนับสนุนงบประมาณให้กับสภาการสาธารณสุขเป็นงบอุดหนุน  และหน่วยงานที่ไม่เห็นด้วย คือ สำนักงาน ก.พ. คงต้องไปว่ากันในเรื่องของกรอบความคิดที่ยึดติดกับคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

วันที่ 23 มีนาคม 2554 นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข นายไพศาล บางชวด นำทีมกรรมการบริหารสมาคม และสมาชิกจากทั้ง 4 ภาค รวม 300 คน ทำหน้าที่เป็นตัวแทนพี่น้องชาวสาธารณสุขและหมออนามัย เข้าพบนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, ประธานสภาผู้แทนราษฎร นายชัย ชิดชอบ, ประธานวิปรัฐบาล นายวิทยา แก้วภราดัย และประธานวิปฝ่ายค้าน นายวิทยา บูรณะศิริ เพื่อแสดงความขอบคุณที่นายกรัฐมนตรีได้พิจารณาอนุมัติและรับรอง ร่าง พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุข ทั้ง 4 ร่าง เนื่องจากเป็นกฎหมายที่เกี่ยวด้วยการเงินจะต้องผ่านการรับรองจากนายก รัฐมนตรีก่อน จึงจะนำร่างบรรจุเข้าวาระการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรได้ และเพื่อแสดงความขอบคุณประธานรัฐสภาที่ได้นำร่าง พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุข ฉบับที่เสนอในนามภาคประชาชน และเสนอโดย ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคเพื่อไทย รวมทั้งหมด 4 ร่าง บรรจุเข้าวาระการพิจารณาในลำดับที่ 5.97, 5.99, 5.100 และ 5.101 เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2554 ที่ผ่านมา กรรมการบริหารของสมาคมวิชาชีพสาธารณสุขไม่ได้ลดละความพยายามและติดตามเรื่องนี้

        “ไม่คาดคิดว่าจะเกิด เหตุการณ์นายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศยุบสภา    การทำหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรในการพิจารณาร่างกฎหมายก็จะหยุดลงทันที เมื่อประเมินสถานการณ์และคำนวณเวลาที่เหลืออยู่แล้ว กรรมการบริหารสมาคมวิชาชีพสาธารณสุขมีความเห็นกันว่า เวลาที่เหลืออยู่ในการพิจารณากฎหมายของสภาไม่น่าจะทัน และมักเกิดเหตุการณ์สภาล่มอีก ขอยืนยันว่าร่าง พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. .... (ฉบับร่างของรัฐบาล) ซึ่งเป็นร่างผ่านความเห็นชอบและรับหลักการแล้วจาก ครม.   และยังไม่ตก ยังอยู่ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เมื่อสัปดาห์ต้นเดือนพฤษภาคม 2554 ผู้แทนสมาคมวิชาชีพสาธารณสุขได้สอบถาม ไปที่ทีมเลขานุการคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 10 และให้ข้อมูลว่า “กำลังเร่งจัดทำ ร่าง พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. ...  ที่ผ่านการตรวจสอบ แก้ไข ปรับปรุงแล้ว ส่งกลับคืนไปที่ ครม. หากมีการยุบสภาแล้ว เรื่องจะไปค้างอยู่ที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี  เพื่อรอรัฐบาลชุดใหม่ และเมื่อตั้งรัฐบาลชุดใหม่เรียบร้อย จากนั้นจะนำไปบรรจุเข้าวาระการพิจารณารับหลักการของสภาผู้แทนราษฎรที่จะเปิด สมัยประชุมเป็นการประชุมสมัยสามัญนิติบัญญัติ (ถ้ามีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้เร็ว ก็น่าจะเป็นช่วงเดือนกันยายน 2554 ที่เปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร)

            ในช่วงที่ผ่านมาเป็นเวลาเกือบ 2 ปี (ตั้งแต่เปิดเวที 4 ภาค เริ่มเดือนเมษายน 2552 เป็นต้นมา) กรรมการบริหารสมาคมวิชาชีพสาธารณสุขได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนพี่น้องชาวสาธารณ สุข และหมออนามัยจากทั่วประเทศด้วยความใส่ใจและระมัดระวังในทุกขั้นตอนของการ เดินหน้า..ผลักดัน..และเสนอให้มีกฎหมายวิชาชีพการสาธารณสุขอย่างรอบคอบ พร้อมด้วยการทำงานอย่างมียุทธศาสตร์เป็นตัวนำ และการใช้ข้อมูลทางวิชาการมาสนับสนุนเป็นหลัก เนื่องจากเราเคยมีบทเรียนในอดีตที่ถือเป็นความผิดพลาดที่ต้องจดจำและไม่ให้ เกิดขึ้นซ้ำอีกในครั้งนี้ การที่มีพวกเราเข้าไปทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการให้ข้อมูลและความเห็นที่เป็น ประโยชน์ในขั้นตอนการพิจาณากลั่นกรองและปรับปรุงเนื้อหาสาระของร่าง พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุข ในชั้นการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ถือเป็นโอกาสที่ดีและเป็นประโยชน์อย่างมากในการออกกฎหมายเพื่อคุ้มครอบสิทธิ ของประชาชนและคุ้มครองผู้ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขอย่างมาก นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข คุณไพศาล บางชวด, ที่ปรึกษาสมาคม รศ.ดร.สุรชาติ ณ หนองคาย, อุปนายกสมาคม คุณทัศนีย์ บัวคำ, เลขาธิการสมาคม คุณสมบัติ ชูเถื่อน พร้อมด้วยผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ที่มี นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา หัวหน้าผู้ตรวจราชการ เป็นหัวหน้าทีม และผู้อำนวยการกลุ่มกฎหมาย สป. ผู้แทนทุกคนทำหน้าที่ให้ข้อมูลและข้อคิดเห็นเพื่อให้ ร่าง พรบ.ฉบับนี้ผ่านขั้นตอนของกฤษฎีกาลุล่วงไปด้วยดี เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2554    

          แม้ว่าจะผ่านขั้นตอนการพิจารณาในชั้นของคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้วก็ตาม ขั้นตอนต่อไปก็คือ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการจะต้องส่งคืนร่าง พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. ... ให้กับรัฐบาล เพื่อพิจารณาอนุมัติร่าง พรบ. แล้วส่งไปให้ประธานวิปรัฐบาลนำไปบรรจุเข้าวาระการพิจารณาของสภา ส่วนการเลื่อนลำดับวาระการพิจารณาของสภาจะต้องมีความเห็นตรงกันทั้งประธาน วิปรัฐบาล และประธานวิปฝ่ายค้าน วาระแรกเป็นวาระสภารับหลักการ หลังจากนั้นจะแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ ซึ่งจะมีการแต่งตั้งกรรมาธิการร่วม จำนวน 22 คน ด้วยตามที่สมาคมวิชาชีพสาธารณสุขเสนอขอให้มีกฎหมายในนามประชาชน ส่วนวาระที่ 2 เป็นการแปรญัตติเพื่อแก้ไขปรับปรุงเนื้อหาของร่าง พรบ. วาระที่ 3 เป็นวาระสภาผ่านร่าง พรบ. จากนั้นจะส่งไปที่สภาสูง คือ วุฒิสภา ซึ่งต้องผ่านทั้ง 3 วาระเช่นกัน

เรา ยังคงเฝ้ารออยู่เฉยๆ ไม่ได้ สิ่งที่เราต้องเตรียมการและต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับกับสถานการณ์ที่ จะต้องเดินหน้าและต้องผลักดันกันต่อไปก็คือ การเตรียมข้อมูลทางวิชาการเพื่อนำไปใช้ในขั้นตอนเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร การเสนอขอให้มีกฎหมายไม่ใช่เรื่องง่าย ยังมีอีกหลายขั้นตอน อันดับแรกจึงขอให้สมาชิกและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขช่วยตอบแบบสอบถาม ซึ่งทางสมาคมวิชาชีพสาธารณสุขได้ส่งแบบสอบถามไปหลายจังหวัด และแบบสอบถามวางไว้ที่หน้าเว๊ปไซด์ของสมาคมฯ (www.hpathailand.org)    รายการดาวน์โหลดแล้วส่งคืนตามที่ระบุไว้โดยด่วน

         นอกจากนี้ เราควรเตรียมตัวเป็นสมาชิกของสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข ประเภทตลอดชีพ(1,000 บาท) เพื่อให้มีสถานภาพเป็นนิติบุคคล และโอนเป็นสมาชิกของสภาการสาธารณสุข โดยยกเว้นไม่ต้องชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้า เมื่อ พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุขประกาศบังคับใช้ การเป็นสมาชิกของสภาการสาธารณสุข แม้ยังไม่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีด้านสาธารณสุขศาสตร์ ก็สามารถขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกสภาการสาธารณสุขได้ แต่ถ้าจะสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุข จะต้องมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านสาธารณสุขศาสตร์ ถ้า พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุข ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จะมีผลบังคับใช้ตามกฎหมายทันที เรามีเวลาในการเตรียมตัวน้อยมากเพียง 1 ปี เพื่อขึ้นทะเบียนสมาชิกและต้องให้สมาชิกสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ การสาธารณสุข สมาคมฯ จะต้องเป็นกลไกประสานหลักในการจัดทำหลักสูตรเพื่อพัฒนาเรื่องการมีมาตรฐาน ทางวิชาชีพการสาธารณสุข และจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ทุกคนจะต้องผ่านหลักสูตรและสอบขึ้นทะเบียน

            อย่าเพิ่งวางใจ การขับเคลื่อน พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุข เป็นเรื่องที่มีคนได้ คนเสีย และมีผลกระทบต่อบางวิชาชีพเพราะต่างมีความเชื่อมโยงถึงกัน ขอย้ำให้พวกเราชาวสาธารณสุขพึงต่อสู้ด้วยความอดทน ต้องอาศัยความรัก ความสามัคคี และความมีเอกภาพของพวกเราเป็นหลัก โดยอยู่ภายใต้การมีสติและภูมิปัญญา พร้อมทั้งการเข้าถึงแหล่งข้อมูลทางวิชาการอย่างแท้จริง การ เสนอขอให้มีกฎหมายไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะถือเป็นเรื่องระดับชาติและเป็นระดับนโยบาย แต่ก็คงจะไม่ยากที่เราจะร่วมมือกันทำให้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ขอเพียงอย่าท้อถอย ต่างต้องเป็นกำลังใจและให้เกียรติซึ่งกันและกัน การให้คุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็น นักสาธารณสุข และหมออนามัย การสร้างสรรค์สิ่งที่ดีและมีคุณค่าต่อสังคมไทยเหมือนในอดีตเมื่อสามทศวรรษ งานสาธารณสุขมูลฐานที่ได้รับการยกย่องจาก WHO ที่ ผ่านมา การเสนอขอให้มีกฎหมายวิชาชีพสาธารณสุขครั้งนี้ อาจเป็นครั้งสุดท้าย แต่ถือว่าเป็นช่วงเวลาและโอกาสที่เหมาะสมอย่างมาก ความหวังที่ทุกคนต้องรอคอยมาอย่างยาวนานเกือบ 100 ปี จะเกิดผลได้ในอนาคตอันใกล้นี้ 
             
              และยังมีนัดอีกดังนี้ 27 ม.ค. 54 , 31 ม.ค. 54 และ 3 ก.พ. 54 ซึ่งตัวผมเอง (ปิ่น นันทะเสน )ก็เข้ากรุงเทพฯ เพื่อตอบข้อซักถามกับทางกฤษฎีกา ทุกสัปดาห์ สลับกับพี่ประสพ.....และล่าสุด วันที่ 27 มีนาคม 2554 กฤษฎีกา คณะที่ 10 ที่ดูแลตรวจสอบกฎหมายด้านสาธารณสุข ก็ได้ผ่านร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ........เป็นที่เรียบร้อย......และก็ได้เชิญพวกเราจำนวน 300 คนเข้าพบประธานสภาผูแทนราษฎร ท่านรัฐมนตรี และประธานวิปฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายค้าน เพื่อ เป็นแรงผลักดันให้ พ.ร.บ.เราผ่านเร็วขึ้น อีกด้วย.....
             จากนี้ไปก็ต้องรอรัฐบาลใหม่ที่จะมาสานงานต่อให้กับพวกเรานะครับ.....ช่วงรอก็ขอให้พี่ น้องชาวสาธารณสุขเตรียมความพร้อม ด้านการเงิน ด้านเสบียง และขอให้ทุกท่านที่เป็นสมาชิกของสมาคมวิชาชีพการสาธารณสุข ได้ต่ออายุการเป็นสมาชิกไว้ได้เลย โดยการสมัครเป็นสมาชิกถาวร ซึ่งจะมีผลต่อเนื่องกันกับสมาชิกสภาวิชาชีพการสาธารณสุข และจะมีผลประโยชน์โดยตรงต่อตัวท่านเองมากมายหลังจากพวกเรามี พ.ร.บ. คุ้มครองซึ่งไม่นานเกินรอ เราจะเร่งเต็มสูบหลังจากมีรัฐบาลใหม่ครัับเตรียมตัวให้พร้อม เป่านกหวีดเมื่อไหร่ พร้อมลุยทันที่นะครับ ...รอสัญญาณ...เร็วๆนี้.......